โรคที่เกิดจากการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง - โรคที่เกิดจากการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง นิยาย โรคที่เกิดจากการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง : Dek-D.com - Writer

    โรคที่เกิดจากการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง

    ผู้เข้าชมรวม

    579

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    5

    ผู้เข้าชมรวม


    579

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  1 ก.ย. 66 / 17:57 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    เค็ม...ใช่แค่เกลือ น้ำปลา
    คำว่า เค็ม ไม่ได้หมายถึงเกลือหรือน้ำปลาที่ใส่อาหารเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่หมายถึง 'โซเดียม' ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้เกลือมีรสเค็ม โซเดียมที่ว่านี้นอกจากจะอยู่ในรูปของเกลือแล้ว ยังอยู่ในรูปของอาหารประเภทอื่นๆ ที่เรากินทุกวันด้วย ได้แก่
    1. อาหารตามธรรมชาติ เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู นม ผักกาดหอม สับปะรด ฯลฯ โดยอาหารแต่ละชนิดมีปริมาณโซเดียมที่แตกต่างกัน ซึ่งในอาหารประเภทนมและเนื้อสัตว์จะมีปริมาณโซเดียมมากกว่าผักและผลไม้
    2. อาหารสำเร็จรูปและอาหารที่ใช้เกลือถนอมอาหาร เช่น ไข่เค็ม ปลากระป๋อง อาหารแปรรูปต่างๆ เช่น เบคอน แฮม ฯลฯ อาหารสำเร็จรูปจำพวก บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โจ๊ก รวมทั้งขนมขบเคี้ยวต่างๆ ด้วย
    3. การเติมเครื่องปรุงรสต่างๆ ในอาหาร เช่น น้ำปลา ซีอิ้ว น้ำมันหอย ซอสปรุงรสชนิดต่างๆ ฯลฯ

    เพชรฆาตมาด 'เค็ม'
    โดยทั่วไปร่างกายคนเราต้องการโซเดียมประมาณ 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน หรือคิดเป็นเกลือแค่ประมาณ 1 ช้อนชา แต่ปัจจุบันคนส่วนใหญ่กินโซเดียมเกินความจำเป็นกว่า 3 เท่าตัว ฉะนั้น เมื่อคุณกินเค็มเข้าไปมากเกินกว่าที่ร่างกายจะนำไปใช้ได้หมด นานวันเข้าหากยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ก็จะนำไปสู่ปัจจัยเสี่ยงของโรคต่างๆ อาทิ
    โรคความดันโลหิตสูง ในร่างกายเรามีไตเป็นอวัยวะช่วยปรับระดับโซเดียมและน้ำในร่างกายให้เหมาะสม แต่เมื่อใดที่ร่างกายมีโซเดียมสูงและไตไม่สามารถปรับโซเดียมให้เหมาะสมกับน้ำได้ ปริมาณโซเดียมและน้ำในร่างกายมีก็จะเพิ่มสูงขึ้น เลือดซึ่งมีน้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญก็จะสูงขึ้น และมีเลือดวิ่งผ่านไปยังเส้นเลือดมากขึ้น ทำให้เกิดความดันโลหิตสูงได้ในที่สุด
    โรคหัวใจ เมื่อความดันโลหิตสูงหัวใจก็ต้องสูบฉีดเลือดหนักขึ้น เต้นเร็วขึ้น เพราะปริมาณเลือดในร่างกายสูงขึ้น ซึ่งนอกจากมีผลต่อความดันโลหิตแล้ว ปริมาณโซเดียมที่มากเกินก็จะก่อให้เกิดอาการตัวบวมและมีโอกาสเป็นโรคหัวใจขาดเลือดมากกว่าคนที่มีความดันโลหิตปกติ 2-4 เท่า ซึ่งถ้าเป็นหนักๆ อาจถึงขั้นหัวใจวายได้
    โรคไต เมื่อเป็นโรคความดันโลหิตสูง ไตต้องทำงานหนักมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้ไตเสื่อมสภาพ ไม่สามารถขับของเสียในร่างกายได้ และเป็นโรคไตเสื่อม ไตวาย ได้
    อัมพฤกษ์ อัมพาต หากเป็นโรคความดันโลหิตสูงเป็นเวลานาน ก็จะเกิดการทำลายผนังหลอดเลือด และนำไปสู่การทำลายอวัยวะส่วนที่สำคัญ โดยเฉพาะสมองซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาตจากโรคหลอดเลือดในสมองแตก ตีบ และตัน
    ไม่ใช่แค่นี้ การกินเค็มมากๆ ยังส่งผลให้โรคหอบหืดรุนแรงขึ้น เป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดศีรษะ (ไม่เกรน) รวมทั้งเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคกระดูกพรุน และมะเร็งกระเพาะอาหารมากขึ้นด้วย

    10 กลเม็ดพิชิตเค็ม
    1. ฝึกไม่เติม น้ำปลา ซอส หรือซีอิ้วเพิ่มในอาหารที่กิน โดยอาจเริ่มฝึกจาก 'ชิมก่อนปรุง' ไม่ใช่ 'ปรุงก่อนชิม' ทุกครั้ง ถ้าทำได้ติดต่อกันถึง 3 สัปดาห์ รับรองว่าต่อมรับรสในลิ้นจะไวต่อรสเค็มมากขึ้น และจะกินอาหารเค็มน้อยได้อร่อยเท่าเดิม
    2. กินน้ำซุปน้อยลง เลิกสั่งอาหารที่ใส่น้ำมากๆ แล้วเติมเกลือหรือน้ำปลาลงไปเพิ่มรสชาติ เปลี่ยนมากินอาหารที่มีน้ำซุปน้อยลง เช่น กินก๋วยเตี๋ยวแห้งแทนก๋วยเตี๋ยวน้ำ กินผัดซีอิ้วแทนราดหน้า กินผัดผักแทนแกงจืดชามโตๆ ก็จะช่วยทำคุณได้รับปริมาณโซเดียมน้อยลง
    3. ลดและงดกับข้าวถุง หันมาลงมือทำอาหารกินเอง เพราะคุณสามารถกำหนดได้ว่าจะใส่เครื่องปรุงรสปริมาณแค่ไหน ที่สำคัญไม่ต้องกังวลเรื่องความสะอาดและโรคภัยที่จะตามมา
    4. ดัดแปลงรสชาติอาหาร คนกินเค็มจะให้เปลี่ยนมากินรสชาติจืดชืดคงไม่อร่อยแน่ ลองดัดแปลงเมนูปรุงรสเปรี้ยวหรือเผ็ดแทน หรือปรุงให้มีสีสันสวยงาม หรือใส่เครื่องเทศต่างๆ เช่น พริกไทย ตระไคร้ ใบมะกรูด ฯลฯ ที่ชวนให้มีกลิ่นหอมเย้ายวนน่ากินมากขึ้น
    5. อ่านฉลากก่อนกินขนม โดยเลือกขนมขบเคี้ยวที่มีโซเดียมน้อยกว่า 200 มิลลิกรัม/ 1 หน่วยบริโภค แต่ถ้าลดหรือไม่กินได้ก็เลิศเลย
    6. ลดอาหารหมักดองหรือแปรรูป เพราะอาหารที่ผ่านการแปรรูปจะมีปริมาณโซเดียมสูงขึ้นกว่า 10 เท่าตัว เนื่องจากต้องใช้เกลือหรือสารประกอบโซเดียมต่างๆ เพื่อปรุงรสและถนอมอาหารนั้นๆ
    7. กินอาหารสำเร็จรูปให้น้อยลง และเวลากินไม่ควรใส่เครื่องปรุงจนหมดซอง(ด้วยความเคยชิน) แต่ชิมเท่าที่รสชาติอร่อยแล้วเท่านั้น
    8. ไม่กินอาหารที่ต้องจิ้มน้ำจิ้มบ่อย น้ำจิ้มของอาหารประเภท สุกี้ หมูกระทะ พวกนี้มีโซเดียมเป็นส่วนผสมสูงมาก เวลากินจะรู้สึกเอร็ดอร่อย แต่พอกินไปสักพักคอจะเริ่มแห้งและกระหายน้ำ เนื่องจากไตทำงานหนัก เพราะร่างกายได้รับโซเดียมสูงเกินไป
    9. เลิกใส่ผงปรุงรสในอาหาร เช่น ซุปก้อน ผงชูรส เปลี่ยนมาใช้ซีอิ้ว หรือเกลือโซเดียมต่ำแทนก็ยังต้องควบคุมปริมาณให้พอเหมาะ
    10. กินผักผลไม้เพิ่มขึ้น ถ้าทำได้เป็นประจำก็จะได้ทั้งลดปริมาณโซเดียมและได้สารอาหาร วิตามินที่มีประโยชน์เพิ่มขึ้นด้วย
    ลดเค็ม ไม่เสี่ยงโรค
    * อัตราเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของคนไทยเพิ่มสูงขึ้น : ในผู้ป่วย 100 คน เสียชีวิต 16 คน (15.25%)
    * ผู้ป่วยโรคนี้ 1 คน เสียค่าใช้จ่ายราว 100,000 - 1 ล้านบาทต่อปี
    * ถ้าลดการกินเค็มลงเหลือวันละ 1 ช้อนชา จะลดการเกิดอัมพาตได้ 11% ลดการเกิดโรคหัวใจได้ 7% และลดการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ 7%
     
    Did you know?
    มาสำรวจกันสิว่าอาหารแต่ละชนิดที่เรากินในแต่ละวันมีปริมาณโซเดียมมากน้อยแค่ไหน

    เครื่องปรุงรส
    ** เครื่องปรุงรสปริมาณโซเดียม (1 ช้อนโต๊ะ)
    ** น้ำปลา1070-1620
    ** ซีอิ้ว880-1570
    ** ซอสถั่วเหลือง1110-1340
    ** ซอสหอยนางรม450-610
    ** น้ำจิ้มไก่360-410
    ** ซอสพริก60-350
    ** ซอสมะเขือเทศ90-190
    ** ผงชูรส 163
    ** ซุปก้อน 176 (หน่วยเป็นมิลลิกรัม)

    อาหารทั่วไป
    อาหารปริมาณโซเดียม ( มิลลิกรัม)
    ** บะหมี่สำเร็จรูปพร้อมเครื่องปรุง 1 ซอง 1000-1810
    ** โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป 1 ถ้วย 900-1340
    ** มันฝรั่งทอดกรอบ 30 กรัม140-200
    ** ข้าวเกรียบกุ้ง 30 กรัม 340
    ** ปลากระป๋อง 1 กระป๋อง 730
    ** ปลาสวรรค์รสเข้มข้น 20 กรัม 590
    ** ปลาหมึกอบ 30 กรัม 862
    ** น้ำมะเขือเทศ 240 กรัม 340
     
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×